Chula Zero Waste
แผนปฏิบัติการการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายอย่างยั่งยืนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(Chula zero waste) (พ.ศ. 2560 – 2564) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะลดปริมาณขยะเหลือทิ้ง ภายในมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ภายใน ปี 2564 ประกอบด้วย 6 แผนงาน 18 โครงการ โดยความร่วมมือ กันของสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมและสำนักบริหารระบบกายภาพร่วมกับ เครือข่ายภาคีในจุฬา ฯ
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็นต้นแบบการจัดการขยะในพื้นที่เมืองเพื่อพัฒนาและบูรณาการความรู้เรื่องการลด คัดแยกและการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนและกิจกรรมภาคปฏิบัติทุกระดับตั้งแต่ระดับ ประถมศึกษาจนถึงมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างค่านิยม Zero Waste และความ ตระหนักของบุคลากรในจุฬาฯ (คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิต) ให้เห็นถึง ความสำคัญของการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง เป็นตัวอย่างให้กับ ชุมชนและสังคม
เป้าหมาย
ให้มีระบบการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายที่สามารถเป็นต้นแบบการ จัดการขยะ*ในพื้นที่เมือง นักเรียน นิสิตและบุคลากร ในจุฬา ฯ มีความรู้ ความเข้าใจ และความ ตระหนักเรื่องการลดและคัด แยกขยะและมีการปรับ เปลี่ยน พฤติกรรมการจัดการขยะ ตามหลักการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) ผ่านกิจกรรมการลดและคัดแยกขยะ และการดูงานแหล่งเรียนรู้ จัดการขยะภายในจุฬา ฯ หลักสูตรการเรียนการสอนและแผนการ จัดกิจกรรมภาคปฏิบัติเรื่องการลดและคัดแยกขยะที่เหมาะสมกับแต่ละระดับชั้น (ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย)
แผนการปฏิบัติงาน
แผนงานที่ 1
พัฒนากลไกทำงานและฐานข้อมูล
- พัฒนากลไกขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ
- สำรวจและจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านขยะมูลฝอยและขยะอันตรายและปรับปรุงฐานข้อมูลและเว็บไซต์
- ศึกษาวิจัยพฤติกรรม ความรู้ ทัศนคติเรื่องขยะของนิสิตและบุคลากรในจุฬา
แผนงานที่ 2
ลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง
- โครงการงดโฟมและลดใช้ถุงพลาสติก
- โครงการลดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว ทิ้ง (My Cup, My Bottle, My Box)
- โครงการลดขยะเศษอาหารตั้งแต่ต้นทาง
- การจัดการพลาสติกชีวภาพอย่างครบวงจร
แผนงานที่ 3
ปรับปรุงระบบแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง
- โครงการปรับปรุงระบบการคัดแยกขยะที่เหมาะสมกับพื้นที่
- โครงการรณรงค์การแยกขยะอย่างถูกต้อง
- โครงการรณรงค์แยกขยะในสำนักงาน
- โครงการตลาดนัดขยะอันตรายและตลาดนัดสีเขียว
แผนงานที่ 4
ปรับปรุงระบบเก็บรวบรวมขยะ
- โครงการปรับปรุงสถานีเก็บกักขยะมูลฝอย จุดพักขยะมูลฝอยและสถานีเก็บกักขยะอันตราย
- โครงการปรับปรุงรถเก็บขนขยะให้ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย
แผนงานที่ 5
เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะอินทรีย์
- ปรับปรุงระบบการเก็บรวบรวมขยะเศษอาหารเพื่อส่งเข้าระบบการผลิตก๊าซชีวภาพ (biogas) และให้เป็นแหล่งเรียนรู้
- โครงการเพิ่มการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์และจัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้
แผนงานที่ 6
พัฒนาเนื้อหาและสื่อการเรียนการสอน
- จัดทำเนื้อหาและสื่อการเรียนการสอนด้านการจัดการขยะอย่างยั่งยืน สำหรับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
- จัดทำเนื้อหาและสื่อการเรียนการสอนด้านการจัดการขยะอย่างยั่งยืนสำหรับนิสิต
ถ้าจัดการให้ดี ขยะจะไม่เป็นขยะ
จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ในปีพ.ศ. 2558 ประเทศไทยมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นทั่วประเทศประมาณ 26.85 ล้านตันซึ่งเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ในจำนวนนี้ เป็นขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ประมาณ 4.19 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 16 ของปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด ในขณะที่การคัดแยกและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือรีไซเคิลยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร โดยในปี 2558 มีการดำเนินการเพียง 4.94 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 18.39 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั้งหมดซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555 – 2559 ซึ่งได้ตั้งเป้าการรีไซเคิลขยะมูลฝอยไว้ที่ร้อยละ 30 ภายในสิ้นปีของแผน ทั้งนี้ ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะถูกนำไปกำจัดโดยการฝังกลบที่จังหวัดนครปฐมและจังหวัดฉะเชิงเทรา แม้ว่าจะเป็นการฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาลแต่กระบวนการเก็บขนและฝังกลบก็ยังสร้างความเสี่ยงทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนในสองจังหวัดดังกล่าวและยังเป็นการจัดการขยะที่ไม่ยั่งยืน
แปลงขยะเป็นพลังงาน
ผลสืบเนื่องจากโครงการลดและแยกขยะในสำนักงานที่พบปัญหาขยะรีไซเคิลบางประเภทที่ผ่านการแยกขยะอย่างดีแล้วแต่ไม่สามารถขายเป็นขยะรีไซเคิลได้ เช่น ถ้วยกระดาษเคลือบไข แก้วพลาสติกบางประเภท ด้วยเหตุนี้ โครงการฯ จึงได้สร้างความร่วมมือกับบริษัทอินทรี อีโคไซเคิล จำกัดในการรับขยะรีไซเคิลมูลค่าต่ำไปเผาเป็นพลังงานร่วมที่เตาเชื้อเพลิงของโรงปูนซีเมนต์ที่จังหวัดสระบุรี ทางบริษัทฯ ได้ให้การสนับสนุนซึ่งทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถแยกขยะไปเป็นเชื้อเพลิงร่วมได้มากขึ้น โดยเฉพาะขยะพลาสติก จำพวกหลอดดูดน้ำ ฝาครอบ ซึ่งมีปริมาณมากในมหาวิทยาลัย การสร้างช่องทางใหม่ในการจัดการขยะดังกล่าว ทำให้โครงการฯ ปรับป้ายติดถังขยะสำหรับถังขยะรีไซเคิลเป็น “รีไซเคิลพลัส” ซึ่งหมายถึง ถังขยะนี้รับขยะรีไซเคิลและขยะที่เผาเป็นพลังงานได้ (Recycle plus Energy Recovery) โดยใช้สัญลักษณ์ Recycle+