Share this :

ในการเสวนา มีตัวแทนจากภาคเอกชนจาก Unilever และ Nestlé มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลดีๆ ด้วย ซึ่งภาคเอกชนเป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการ ภาคเอกชนจึงมีบทบาทสำคัญในการจัดการบรรจุภัณฑ์จากการผลิต สามารถผลักดัน EPR และ Circular Economy ได้มาก

Rethinking Plastic Packaging กับ Unilever

“ต้องเปลี่ยนระบบความคิดเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมดและต้องมีการปลดล็อกกฎหมายให้เอื้อ”

คุณณัฏฐินี เนตรอำไพ ผู้จัดการส่วนอาวุโสส่วนองค์กรและสื่อมวลชนสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย เล่าว่า Unilever ได้ประกาศ Plastic Commitment การจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติกเมื่อปี 2019 และตั้งเป้าจะลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ให้ได้ครึ่งหนึ่งในอีก 5 ปีข้างหน้า ตอนนี้ Unilever มีการ Rethinking Plastic Packaging เพื่อปรับเปลี่ยนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก

  1. Using less plastic คือการลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ เช่นเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์แชมพูเป็น PCR (Post Consumer Recycled)
  2. Using better plastic คือการใช้เม็ดพลาสติกที่รีไซเคิลได้ เช่น ขวดซันไลต์ ทำจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล 100%
  3. Using no plastic คือการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ ไม่ใช้พลาสติก เช่น เปลี่ยนถ้วย Wall’s Cup เป็นถ้วยกระดาษ

นอกจากนี้ยังมีบริการ Refill และ การทำ EPR ด้วยการทำระบบเรียกเก็บบรรจุภัณฑ์

คุณณัฏฐินีเสนอแนะว่า เราต้องเปลี่ยนระบบความคิดเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด ใช้ Eco-Design ไม่ใช้วัสดุสิ้นเปลือง แต่ใช้ให้เหมาะสมกับปริมาณผลิตภัณฑ์จริงๆ เช่น ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีขนาดเท่ากับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ ไม่ให้บรรจุภัณฑ์ใหญ่เกินไป มีการสนับสนุน Refill Station ในไทย โดยปลดล็อกกฎหมายให้เอื้อต่อการเกิด Refill Station ใช้ PCR ในบรรจุภัณฑ์อาหารได้ โดยภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุนให้ PCR มีราคาถูกกว่าหรือเทียบเท่าเม็ดพลาสติกใหม่ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ Circular Economy กลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น


Nestlé Circular Packaging Transformation Journey : คุณนภดล ศิวะบุตร ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัทเนสท์เล่ (ไทย) จำกัด

“ไม่ได้มอง EPR เป็นกฎหมาย แต่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องมี เพื่อให้เกิดระบบ Circular Economy ที่ดี”

คุณนภดลกล่าวว่า Circular Economy สามารถเป็น Root-Cause Solution ในการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกได้ โดยต้องมีทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์และโมเดลธุรกิจ แต่การแก้ปัญหาไม่ใช่ One size fits all ต้องมีวิธีการที่หลากหลาย แก้ตั้งแต่ต้นทาง และทำทั้ง Upstream และ Downstream คุณนภดลกล่าวว่า เขาไม่ได้มอง EPR เป็นกฎหมาย แต่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องมี เพื่อให้เกิดระบบ Circular Economy ที่ดี

สำหรับประเทศไทย ในตอนนี้เรายังไม่มีระบบรีไซเคิลที่ครบวงจรสำหรับวัสดุทั้งหมด ยังขาดการรีไซเคิลพลาสติกหลายชนิด ซึ่งแวดวงวิชาการมีส่วนมากในการสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น ข้อดีของประเทศไทยคือมีระบบรับซื้อของเก่าอยู่แล้ว และเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาก็มีศักยภาพสูง สามารถสร้างความร่วมมือกันได้ เราต้องมองให้ไปไกลกว่าประเทศไทย ต้องมองในระดับภูมิภาค เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ไม่ใช่แค่เรื่องขยะพลาสติก แต่รวมถึง Commitment Net-Zero 2050 ด้วย

ในการเสวนา ดร.เพชร มโนปวิตร ผู้ดำเนินรายการกล่าวว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประชาชนเริ่มให้ความสนใจกับการแก้ปัญหาขยะทะเล วิกฤติสิ่งแวดล้อม ภาคเอกชนมีความตื่นตัว ภาครัฐเริ่มมีการตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมมือกันจัดการขยะ แต่การสร้างความร่วมมือและสร้างจิตสำนึกอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ เพราะการแก้ปัญหาขยะเกี่ยวข้องกับการบริโภคของคน จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบให้รองรับและเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคได้ด้วย

งานวิชาการ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างมากในการเสนอทางออกและแก้ปัญหา เพราะผลงานของนักวิชาการมีผลกระทบในทางปฏิบัติและผลกระทบเชิงนโยบายที่เห็นได้ชัด แน่นอนว่าระบบคงไม่ได้สมบูรณ์แบบจนสามารถแก้ปัญหาทุกอย่างได้ แต่สิ่งที่เราพยายามทำคือการออกแบบระบบที่นำไปสู่การแก้ปัญหาในภาพรวม ในตอนนี้การจัดการขยะเป็นโมเดลที่ท้าทายที่สุด และเป็นสิ่งที่ทั่วโลกเห็นตรงกันว่าต้องมีการจัดการ ซึ่งเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาที่จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงได้

 

 

Share this :