Share this :

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำอันดับต้นๆ ของประเทศที่มีพื้นที่อาณาเขตกว้างขวาง อยู่ใจกลางเมืองที่มีการสัญจรสะดวกสบาย เนื่องด้วยเหตุนี้เอง ทำให้การสัญจรภายในมหาวิทยาลัยต้องพึ่งพายานพาหนะในการเดินทางเพื่อให้สามารถเดินทางไปยังอาคารต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

Chula Zero Waste ขอนำเสนอวิธีการในการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยให้ยิ่งสะดวก ง่ายดาย ประหยัดทั้งเวลาและประหยัดพลังงาน แถมไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ใช้แล้วสบายใจโลกไม่ร้อนแน่นอน

รถโดยสารปรับอากาศฟรีที่ขึ้นชื่อลือชาที่สุดในประเทศไทยน่าจะเป็น CU Shuttle Bus (CU POP Bus) ในจุฬาฯ ของเรานี่แหละ! เป็นรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็ก หรือ รถปรับอากาศพิเศษ (ปอ.พ) โดยชื่อย่อนี้เอง ถ้าอ่านรวมกันก็จะเป็นคำพ้องเสียงกับคำว่า “ป๊อบ” ซึ่งถูกใครต่อใครเรียกจนติดปากมาจนถึงทุกวันนี้ และก็ป๊อปสมชื่อจริงๆ เสียด้วยสิ! ไม่ว่าจะเป็นนิสิต อาจารย์ บุคลากร หรือแม้แต่บุคคลภายนอกก็ยังใช้บริการ เพราะใช้บริการฟรีโดยไม่มีการแบ่งแยก ไม่ต้องแสดงตัวตนเพื่อใช้สิทธิ์ เป็นอีกหนึ่งบริการขนส่งสาธารณะดีๆ ที่อยากให้ทุกคนหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ สามารถเดินทางสะดวก ปลอดภัย ลดปัญหาการจราจรภายในมหาวิทยาลัย ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว และที่สำคัญลดปัญหามลพิษทางอากาศได้ดีอีกด้วย

รถโดยสารปรับอากาศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการพัฒนาระบบที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยใช้พลังงานสะอาดจากพลังงานไฟฟ้าที่มีสถานีจ่ายไฟอยู่ 2 สถานี ได้แก่สถานีใหญ่บริเวณศาลาพระเกี้ยวและบริเวณอาคารจามจุรี 9 มีเส้นทางการเดินรถรอบมหาวิทยาลัยใกล้กับสถานที่สำคัญโดยแบ่งเส้นทางการเดินรถออกเป็น 5 สาย ได้แก่

  • สายที่ 1 วิ่งไปทางถนนอังรีดูนังต์และกลับเข้ามาที่ถนนพญาไท เพื่อเข้าสู่สถานีศาลาพระเกี้ยว
  • สายที่ 2 วิ่งรถภายในมหาวิทยาลัยทั้ง 2 ฝั่ง ไปจนถึงสนามกีฬาแห่งชาติและกลับเข้าสถานีศาลาพระเกี้ยว
  • สายที่ 3 วิ่งรถไปคณะแพทยศาสตร์ วิ่งไปรอบลานพระบรมรูป และกลับมาที่สถานีศาลาพระเกี้ยว
  • สายที่ 4 วิ่งรถไปทางถนนอังรีดูนังต์ และกลับเข้ามาที่ถนนพญาไท วิ่งเข้าประตูฝั่งสามย่านและวนออกมาทาง U Center และกลับเข้ามาที่สถานีศาลาพระเกี้ยว
  • สายที่ 5 วิ่งรถจากศาลาพระเกี้ยวเข้าทางคณะนิติศาสตร์ผ่านตลาดสามย่านและไปถึงระเบียงจามจุรีก่อนจะกลับรถเข้ามาที่ธรรมะสถานและกลับเข้าสถานีศาลาพระเกี้ยว
  • สาย 5A วิ่งรถจากระเบียงจามจุรีเข้าทางธรรมะสถาน ผ่านคณะนิติศาสตร์และเข้ามาสถานีศาลาพระเกี้ยว

ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับเส้นทางการเดินรถ

สายที่ 1
  • ศาลาพระเกี้ยว
  • รร.สาธิตฯ ปทุมวัน
  • คณะสัตวแพทยศาสตร์
  • แยกเฉลิมเผ่า
  • BTS สยาม
  • คณะเภสัชศาสตร์
  • รร.เตรียมอุดมศึกษา
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
สายที่ 2
  • ศาลาพระเกี้ยว
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • อาคารมหามงกุฎ
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะครุศาสตร์
  • รร.สาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม
  • อาคารจามจุรี 9
  • CU Sport Complex
  • ธรรมสถาน
  • หอพักนิสิต
  • อาคารจามจุรี 10
  • คณะสหเวชศาสตร์
  • BTS สนามกีฬาแห่งชาติ
  • อาคารจุฬาพัฒน์ 13
  • สำนักงานจุฬาฯ
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
สายที่ 3
  • ศาลาพระเกี้ยว
  • คณะแพทยศาสตร์
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • อาคารมหามงกุฎ
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
สายที่ 4
  • ศาลาพระเกี้ยว
  • รร.สาธิตฯ ปทุมวัน
  • คณะสัตวแพทยศาสตร์
  • แยกเฉลิมเผ่า
  • BTS สยาม
  • รร.สาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม
  • รร.สาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม
  • U Center
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
สายที่ 5
  • ศาลาพระเกี้ยว
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • อาคารมหามงกุฎ
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะนิเทศศาสตร์
  • รร.สาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม
  • อาคารจามจุรี 9
  • I’m Park
  • ระเบียงจามจุรี
  • ธรรมสถาน
  • สำนักงานจุฬาฯ
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
สาย 5A
  • ระเบียงจามจุรี
  • ธรรมสถาน
  • รร.สาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม
  • U Center
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์

CU Shuttle Bus เปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์เวลา 7.00-22.00 น. ในช่วงเปิดภาคเรียน (เฉพาะสาย 1 สาย 2 และสาย 5 เท่านั้น ที่ให้บริการถึง 22.00 น.) และวันเสาร์เปิดบริการเฉพาะสาย 1 และสาย 2 ตั้งแต่เวลา 7.00-19.00 น. แต่ในช่วงปิดภาคเรียนจะให้บริการถึงแค่ 19.00 น. เท่านั้น และสายที่ 1-2 ให้บริการตั้งแต่ 7.00-19.00 น. ทั้งเปิดและปิดภาคเรียน หยุดให้บริการในวันอาทิตย์และวันนักขัตฤกษ์ หากต้องการใช้บริการก็สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีตามจุดต่างๆ โดยอย่าลืมปฏิบัติตนตามมารยาทในใช้รถสาธารณะนั่นก็คือ เดินชิดด้านในก่อน ไม่ยืนกีดขวางประตูทางเดิน รวมถึงกดกริ่งหรือแจ้งคนขับรถทุกครั้งก่อนถึงสถานีถัดไป

แค่เปลี่ยนวิธีการเดินทางก็ช่วยประหยัดพลังงานได้
Together we can มันใจเราทำได้!

Share this :